ฝ่า ไฟเหลือง ผิดกฏหมายหรือไม่
1 post
• Page 1 of 1
ฝ่า ไฟเหลือง ผิดกฏหมายหรือไม่
ฝ่า ไฟเหลือง ผิดกฏหมายหรือไม่

สวัสดีครับวันนี้ MR.OOHOOมีปัญหาบนท้องถนนมาเล่าสู่กันฟังผ่านตัวอักษรกันอีกเช่นเคยครับ ขอพักเรื่องประกันออนไลน์ หรือประกันรถยนต์ มายกประเด็นของบทความนี้ก็คือเรื่องของการฝ่าสัญญาณไฟจราจร ถ้าตามหลักสากลเเล้วเราเรียนรู้มาตลอดว่า เมื่อเจอสัญญาณ ไฟเหลือง หมายถึงสัญญาณไฟที่ต้องเตรียมตัวหยุดรถ แต่บางครั้งบางคราวในจังหวะคาบลูกคาบดอกเราก็มักที่จะขับรถเร่งความเร็วฝ่าสัญญาณไฟเหลืองไปเลยเพื่อไม่อยากติดแหง่กอยู่สัญญาณไฟแดง คำถามคือ ขับรถฝ่าไฟเหลืองผิดกฏจราจรหรือไม่?
คำตอบสำหรับเรื่องนี้คือ ผิด!! แต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ณ ขณะนั้นเพราะตามกฏหมายจราจรเเล้ว สัญญาณจราจรไฟเหลือง หมายถึงให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วลงเพื่อเตรียมหยุดรถหลังเส้นหยุดรถ ถ้าหากรถของคุณเลยเส้นบังคับหยุดที่แยกสัญญาณไฟไปเเล้ว ในขณะที่ไฟสัญญาณเหลืองเริ่มแสดงในกรณีนี้สามารถขับรถผ่านแยกไปได้ แต่ในกรณีที่รถของคุณยังไม่ข้ามแยกแล้วสัญญาณไฟเหลืองแสดง การเร่งความเร็วผ่านแยกสัญญาณไฟถือเป็นความผิดเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรสามารถจับกุมได้ตามพิจารณา ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 22 (1) กำหนดไว้ว่า สัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอําพัน ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดรถหลังเส้นให้รถหยุดเพื่อเตรียมปฏิบัติตามสัญญาณที่จะปรากฎต่อไปดังกล่าวใน (2) เว้นแต่ผู้ขับขี่ที่ได้เลยเส้นให้รถหยุดไปแล้วให้เลยไปได้ ผู้ที่ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
นอกจากการฝ่าสัญญาณไฟแดง ที่ถือว่าเป็นการทำผิดกฏจราจรแบบเต็มๆ และการฝ่าไฟสัญญาณเหลืองเมื่อรถยังไม่เลยเส้นบังคับถือว่าผิดเช่นกันเเล้ว ในกรณีที่ไฟสัญญาณเขียวแสดง เเละรถของคุณไม่ได้เกิดเหตุขัดข้องหรือตัวคุณไม่ได้เกิดเจ็บป่วยกะทันหันแต่ไม่มีการขับออกจากแยกสัญญาณไฟ ก็มีสิทธิ์โดนจับกุมในข้อหาจอดรถกีดขวางการจราจรได้เช่นกัน
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ไฟจราจรตามแยกต่างๆที่เราเห็นกันอยู่ทุกวัน บางครั้งเราก็ละเลยหรือลืมไปว่า ถ้าฝ่าไปเนี่ยถือว่าทำผิดกฏจราจรแล้ว ดังนั้นหากเราเป็นผู้ใช้รถใช้ถนนก็ควรเคารพกฏจราจรกันด้วยนะครับ อุบัติเหตุบนท้องถนนก็จะลดน้อยลงอีกด้วยนะครับ วันนี้ขอลาไปแล้วแล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะครับสวัสดีครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก [url]https://www.oohoo.io/th/news/43-ฝ่า-ไฟเหลือง-ผิดกฎหมายหรือไม่[/url]

สวัสดีครับวันนี้ MR.OOHOOมีปัญหาบนท้องถนนมาเล่าสู่กันฟังผ่านตัวอักษรกันอีกเช่นเคยครับ ขอพักเรื่องประกันออนไลน์ หรือประกันรถยนต์ มายกประเด็นของบทความนี้ก็คือเรื่องของการฝ่าสัญญาณไฟจราจร ถ้าตามหลักสากลเเล้วเราเรียนรู้มาตลอดว่า เมื่อเจอสัญญาณ ไฟเหลือง หมายถึงสัญญาณไฟที่ต้องเตรียมตัวหยุดรถ แต่บางครั้งบางคราวในจังหวะคาบลูกคาบดอกเราก็มักที่จะขับรถเร่งความเร็วฝ่าสัญญาณไฟเหลืองไปเลยเพื่อไม่อยากติดแหง่กอยู่สัญญาณไฟแดง คำถามคือ ขับรถฝ่าไฟเหลืองผิดกฏจราจรหรือไม่?
คำตอบสำหรับเรื่องนี้คือ ผิด!! แต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ณ ขณะนั้นเพราะตามกฏหมายจราจรเเล้ว สัญญาณจราจรไฟเหลือง หมายถึงให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วลงเพื่อเตรียมหยุดรถหลังเส้นหยุดรถ ถ้าหากรถของคุณเลยเส้นบังคับหยุดที่แยกสัญญาณไฟไปเเล้ว ในขณะที่ไฟสัญญาณเหลืองเริ่มแสดงในกรณีนี้สามารถขับรถผ่านแยกไปได้ แต่ในกรณีที่รถของคุณยังไม่ข้ามแยกแล้วสัญญาณไฟเหลืองแสดง การเร่งความเร็วผ่านแยกสัญญาณไฟถือเป็นความผิดเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรสามารถจับกุมได้ตามพิจารณา ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 22 (1) กำหนดไว้ว่า สัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอําพัน ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดรถหลังเส้นให้รถหยุดเพื่อเตรียมปฏิบัติตามสัญญาณที่จะปรากฎต่อไปดังกล่าวใน (2) เว้นแต่ผู้ขับขี่ที่ได้เลยเส้นให้รถหยุดไปแล้วให้เลยไปได้ ผู้ที่ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
นอกจากการฝ่าสัญญาณไฟแดง ที่ถือว่าเป็นการทำผิดกฏจราจรแบบเต็มๆ และการฝ่าไฟสัญญาณเหลืองเมื่อรถยังไม่เลยเส้นบังคับถือว่าผิดเช่นกันเเล้ว ในกรณีที่ไฟสัญญาณเขียวแสดง เเละรถของคุณไม่ได้เกิดเหตุขัดข้องหรือตัวคุณไม่ได้เกิดเจ็บป่วยกะทันหันแต่ไม่มีการขับออกจากแยกสัญญาณไฟ ก็มีสิทธิ์โดนจับกุมในข้อหาจอดรถกีดขวางการจราจรได้เช่นกัน
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ไฟจราจรตามแยกต่างๆที่เราเห็นกันอยู่ทุกวัน บางครั้งเราก็ละเลยหรือลืมไปว่า ถ้าฝ่าไปเนี่ยถือว่าทำผิดกฏจราจรแล้ว ดังนั้นหากเราเป็นผู้ใช้รถใช้ถนนก็ควรเคารพกฏจราจรกันด้วยนะครับ อุบัติเหตุบนท้องถนนก็จะลดน้อยลงอีกด้วยนะครับ วันนี้ขอลาไปแล้วแล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะครับสวัสดีครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก [url]https://www.oohoo.io/th/news/43-ฝ่า-ไฟเหลือง-ผิดกฎหมายหรือไม่[/url]
-
automight
- สมาชิกฯ ขั้นที่ 1
- Posts: 26
- Joined: Mon Jul 31, 2017 2:39 pm
1 post
• Page 1 of 1
Return to ถาม-ตอบ ปัญหาเรื่องรถ / Tip & Technics
Who is online
Users browsing this forum: No registered users and 5 guests